วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

                                    สื่อการเรียนการสอน
ความหมาย
               
            สื่อนับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ  ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
                ในการเล่าเรียน  เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า สื่อสอนการสอน  และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า  สื่อการเรียน  โดยเรียกรวมกันว่า  สื่อการเรียนการสอน  หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า  สื่อการสอน  หมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง  สไลด์ วิทยุ  โทรทัศน์  วีดิทัศน์  แผนภูมิ  รูปภาพ  ฯลฯ  ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน  หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้การสอนส่งไปถึงผู้เรียน  สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
                    สื่อการเรียนการสอนนั้น เป็นตัวกลางหรือช่องทางถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสื่อการเรียนก็นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนผู้สอนได้แสดงบทบาท และเกิดความเข้าใจในวิชาที่เรียนที่สอนกันได้มากขึ้น
            ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
                             
ประเภทของสื่อนั้น เราสามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ คือ
1.             แบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน
2.             แบ่งตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
3.             แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้
การแบ่งประเภทของสื่อตามประสบการณ์ของผู้เรียน มีแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ของ
มนุษย์ย่อมเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆโดยผ่านสื่อกลาง ระดับของประสบการณ์ที่ได้รับย่อมมีปริมาณมาก-น้อยแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับว่ามีความเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมมากน้อยเพียงไร

***แนวคิดของ Edgar Dale แบ่งประสบการณ์ได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่

             1.ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย                                    2.ประสบการณ์จำลอง
3.ประสบการณ์นาฏการ                                                    4.การสาธิต
             5.การศึกษานอกสถานที่                                                    6.นิทรรศการ
             7.โทรทัศน์การศึกษา                                                         8.ภาพยนตร์
9.ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง วิทยุ                                        10.ทัศนสัญลักษณ์
            11.วัจนสัญลักษณ์

***Wilbure Young ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.             ทัศนวัสดุ ได้แก่ กระดานชอล์ก แผนภูมิ รูปภาพ สไลด์ ฟิล์ม ฟิล์มสตริป
2.             โสตวัสดุ ได้แก่ เทปบันทึกเสียง วิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา
3.             โสตทัศนวัสดุ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์
4.             เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียง
5.             กิจกรรม ได้แก่ นิทรรศการ การสาธิต นาฏการ การศึกษานอกสถานที่

***Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.             ภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพต่างๆ ทั้งที่เป็นภาพถ่าย ภาพพิมพ์ และภาพที่มีอยู่ในหนังสือ สไลด์ ฟิล์ม และภาพโปร่งใส
2.             การบันทึกเสียง ได้แก่ สื่อที่บันทึกเสียงไว้ เช่น แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ และเทปโทรทัศน์ เป็นต้น สื่อประเภทนี้จัดเป็นวัจนวัสดุ
3.             ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ และ เทปโทรทัศน์
4.             โทรทัศน์
5.             ของจริง สถานการณ์จำลอง และหุ่นจำลอง
6.             การสอนแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
***เปรื่อง กุมุท ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนไว้ 5 ประเภท ดังนี้
1.             บุคลากร ได้แก่ ครู วิทยากร
2.             วัสดุ ได้แก่ กระดาษ สี ของจริง สิ่งจำลอง หนังสือ ฟิล์ม
3.             เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องมือปฏิบัติงาน
4.             สถานที่ ได้แก่ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การแสดงบทบาทสมมติ
โดยทั่วไป วงการเทคโนโลยีการศึกษา แบ่ง สื่อการศึกษาออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.             เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งสาร หรือส่งสื่อ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์นี้ จำเป็นต้องมี ส่วนประกอบที่เรียกว่า soft ware เพื่อนำข้อมูลในวัสดุ ส่งไปยังผู้รับ
2.             วัสดุ (soft ware) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา ทำหน้าที่คือ การเก็บสารไว้ในตัว เพื่อใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งสาร หรือบางครั้ง ก็สามารถส่งสารด้วยตัวของมันเอง
3.             เทคนิค หรือวิธีการ เป็นการกระทำที่อยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติ อาจจะใช้วัสดุเครื่องมือ หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคที่จัดว่าเป็นสื่อการสอนเช่น การแสดงนาฏการ การสาธิต การบรรยาย เป็นต้น

***ศิริพงศ์ พะยอมแย้ม ได้ให้ทัศนะด้านประเภทของสื่อไว้ว่า สื่อสามารถแบ่งตามมิติออกเป็น 3 แบบได้แก่
1.             สื่อสามมิติ
ก.สื่อ 3 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น บุคคล การสาธิต นาฏการ
ข.สื่อ 3 มิติชนิดนิ่ง เช่น ของจริง ของจำลอง
2.             สื่อ 2 มิติ
ก.สื่อ 2 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์
ข.สื่อ 2 มติชนิดนิ่ง เช่น รูปภาพ สไลด์ แผนที่ กระดานชอล์ก
3.             สื่อไร้มิติ ได้แก่ ภาษาพูด เสียงเพลง

การแบ่งประเภทของสื่อการสอน ตามการนำไปใช้

***Carlton W.H. Erickson and David H. Curl ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนในแง่ของการนำไปใช้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.             สื่อทัศนะที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง เกม วัสดุกราฟิก ป้ายนิเทศ และนิทรรศการ กระดานดำ แผ่นป้ายสำลี กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้า
2.             สื่อที่ต้องฉาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เทปโทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป ไมโครฟิล์ม การบันทึกเสียง
***Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะทางกายภาพได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.             ภาพนิ่ง อาจะเป็นภาพประกอบในหนังสือ ภาพประกอบป้ายนิเทศ สไลด์ หรือฟิล์มสตริป เป็นต้น
2.             วัสดุอุปกรณ์ประเภทเสียง ได้แก่การบันทึกเสียง แผ่นเสียง หรือ ระบบเสียงในฟิล์มภาพยนตร์
3.             ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์
4.             โทรทัศน์
5.             ของจริง สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง
6.             บทเรียนโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ในการเลือกใช้สื่อการสอนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการเลือกใช้สื่อแต่ละประเภท ให้เหมาะสม ซึ่งต้องพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
      1.องค์ประกอบในการเลือกใช้สื่อ
1.1                  จุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหารายวิชา ผู้สอนจำเป็นต้องนำจุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหาวิชา มาเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อกำหนดได้ว่า ในเนื้อหาลักษณะวิชาที่จะนำมาสอนนี้ต้องการให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้หรือมีพฤติกรรมขั้นสุดท้ายเป็นเช่นไร
1.2                  รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน เช่น การบรรยาย อภิปราย หรือการสาธิต
1.3                  ลักษณะของผู้เรียน โดยต้องพิจารณาทั้ง อายุ เพศ เจตคติ ความเชื่อ พื้นฐานความรู้ ความถนัดทางการเรียน เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม
1.4                  เกณฑ์เฉพาะของสื่อ ซึ่งสื่อแต่ละประเภท จะมีคุณสมบัติ และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงบทบาทของสื่อแต่ละชนิด ก่อนทำการเลือกใช้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการเรียนการสอน
1.5                  วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยต้องคำนึงถึงสภาพของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่มีอยู่ในสถานที่นั้นๆ

2.             ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ กับคุณสมบัติของสื่อ และจุดประสงค์การเรียนการสอน โดยจุดประสงค์ทางการเรียนการสอน สามารถจำแนกองค์ประกอบได้fy’ouh
2.1 ประเภทของสื่อ
2.2 คุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
2.3 จุดประสงค์ของการเรียนการสอน
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

สื่อต่างๆ  ที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศจากผู้สอนไปยังผู้เรียน  หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนใช้ศึกษาความรู้ด้วยตนเอง  นักวิชาการได้จำแนกสื่อการสอนตามประเภท  ลักษณะและวิธีการใช้ดังนี้

สื่อโสตทัศน์
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน  โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ  สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม  เช่น  หนังสือตำราเรียน  ภาพ  ของจริง  ของจำลอง  จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง  ต่อมามีการใช้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการถ่ายทอดเนื้อหาและเนื้อหาและวัสดุที่ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้                         โรเบิร์ต อี. เดอ  คีฟเฟอร์  (Robert  E.  de  Kieffer)  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  2  ประเภทตามลักษณะที่ใช้สื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่า  สื่อโสตทัศน์  (audiovisual  materials)       ในปัจจุบันมีสื่อโสตเพิ่มขึ้นมากจากที่เดอ  คีฟเฟอร์  ได้กล่าวไว้ทั้ง  3  ประเภท  ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
1.  สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected  materials)  เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้อง           ใช้เครื่องฉายร่วมด้วย  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่สื่อภาพ (illustrative  materials)  เป็นสื่อ                 ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา  เช่น  ภาพกราฟิก  กราฟ  แผนที่  ของจริง  ของจำลอง  กระดานสาธิต  (demonstration  boards)  ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา  เช่นกระดานชอล์ก  กระดานนิเทศ  กระดานแม่เหล็ก  กระดานผ้าสำลี  ฯลฯ  และกิจกรรม(activites
2. สื่อเครื่องฉาย  (projected  and  equipment)  เป็นวัสดุและอุปกรณ์  อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง  อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะใช้กับ
แผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์  หรือให้ทั้งภาพและเสียง  เช่น  เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม  เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี  เหล่านี้เป็นต้น  นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ  คือ  เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี  เข้าไว้ในเครื่องด้วย            เพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
3.  สื่อเสียง   (audio  materials  and  equipment)  เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์            เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน  เช่น  เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี  เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง  หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง


สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้

การแบ่งประเภทของสื่อการสอน  ถ้าแบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน  ซึ่ง  เดล             (Dale 1969:107)  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  10  ประเภท  โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น  โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภท  และได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์  ที่เป็นนามธรรมที่สุด  (Abstract  Concrete  Continuum)  เรียกว่า  กรวยประสบการณ์  (Cone  of  Experience

ขั้นที่1  ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย  (Direct  Purposeful  Experience)
       ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อกาสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง


ขั้นที่  2  ประสบการณ์จำลอง  (Contrived Simulation Experience )
     ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตรายไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า

ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience)
      ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น

ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration)
     การสาธิต คือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิดการ ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด

ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
     การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง

ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) 
นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television) 
   โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟัง อย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์

ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture) 
    ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วย แล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่าช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย

ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์  (Visual Symbol) 
   ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้า ใจได้รวดเร็วขึ้น

ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol)
       วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตามเราก็ใช้ประโยชน์ จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้

ทรัพยากร  หมายถึง  สิ่งทั้งปวงที่มีค่า  ทรัพยากรการเรียนรู้  (learning  resources)  จึงหมายถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งที่คนประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนรู้  โดนัลด์  พี.  อีลี  (Donald  P.  Ely)  (Ely,  1972:36:42)  ได้จำแนก
คุณค่าของสื่อการสอน

      สื่อการสอนนับว่าเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน  หรือเป็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้น  สื่อการสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน  ดังนี้

สื่อกับผู้เรียน
                สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้
                -  เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น  และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
                -  สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
                -  การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยากต่อความเข้าใจ  และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
                -  สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
                -  สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้
                -  ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล

สื่อกับผู้สอน
                สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
                -  การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน  เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว   และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
                -  ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้  และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
                -  เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน  ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ  เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
                อย่างไรก็ตาม  สื่อการสอนจะมีคุณค่าต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธีดังนั้น  ก่อนที่จะนำสื่อแต่ละอย่างไปใช้  ผู้สอนควรจะศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอนข้อดีและข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง  ตลอดจนการผลิตและการใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการการเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้
การออกแบบสื่อการสอน

      การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

ลักษณะการออกแบบที่ดี ( Charecteristics of Good Design )
1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
หลักการออกแบบสื่อ

       1.ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
       2.ลักษณะของผู้เรียน ใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
       3.ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
   ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต
-การสอนกลุ่มเล็ก
-การสอนเป็นรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
     ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
     ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
        4.ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
   ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนตร์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
   ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย
ลักษณะของสื่อการสอนที่ดี
         สื่อการสอนที่ดีย่อมช่วยให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1.            มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2.            มีความเหมาะสมกับรูปแบบของการเรียนการสอน
3.            มีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4.            มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการใช้สื่อ
หลักการเลือกสื่อการสอน
       การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้  นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ  เพื่อประกอบการพิจารณา  คือ
                -  สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
                        -  เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง  ทันสมัย  น่าสนใจ  และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
                -  เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย  ระดับชั้น  ความรู้  และประสบการณ์ของผู้เรียน
                -  สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้  มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
                -  ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ  มีเทคนิคการผลิตที่ดี  มีความชัดเจนและเป็นจริง
                -  มีราคาไม่แพงจนเกินไป  หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
   หลักการใช้สื่อการสอน
       ภายหลังจากที่ผู้สอนได้เลือกและตัดสินใจแล้วว่าจะใช้สื่อประเภทใดบ้างในการสอนเพื่อให้เรียนสามารถเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อนั้นได้ดีที่สุด  ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้ 
                -  เตรียมตัวผู้สอน  เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน  ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามีเนื้อหาถูกต้อง  ครบถ้วน  และตรงกับที่ต้องการหรือไม่  ถ้าสื่อนั้นมีเนื้อหาไม่ควร  ผู้สอนจะเพิ่มโดยวิธีใดในจุดไหนบ้าง  จะมีวิธีใช้สื่ออย่างไร  เช่น  ใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นการนำบทเรียนที่จะสอน แล้วอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนนั้น  ต่อจากนั้นเป็นการให้ชมวีดิทัศน์เพื่อเสริมความรู้  และจบลงโดยการสรุปด้วยแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์ในโปรแกรม  PowerPoint  อีกครั้งหนึ่งดังนี้ เป็นต้น  ขั้นตอนเหล่านี้ผู้สอนต้องเตรียมตัวโดยเขียนลงในแผนการสอนเพื่อการใช้สื่อได้ถูกต้อง
                -  เตรียมจัดสภาพแวดล้อม  โดยการจัดเตรียมวัสดุ  เครื่องมือ  และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม  ตลอดจนต้องเตรียมสถานที่หรือห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมด้วย  เช่น  มีปากกาเขียนแผ่นโปร่งใสพร้อมแผ่นโปร่งใส  แถบวีดิทัศน์ที่นำมาฉายมีการกรอกกลับตั้งแต่ต้นเรื่องโทรทัศน์ต่อเข้ากับเครื่องเล่นวีดิทัศน์เรียบร้อย  ที่นั่งของผู้เรียนอยู่ในระยะที่เหมาะสม  ฯลฯ  สภาพแวดล้อมและ             ความพร้อมต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่เสียเวลา

                -  เตรียมพร้อมผู้เรียน  เป็นการเตรียมผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อเป็นอย่างไร  เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมในการฟังดู  หรืออ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดีและสามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาได้  หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเองผู้สอนต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง  เช่น  มีการทดสอบ  การอภิปราย  การแสดง  หรือการปฏิบัติ  ฯลฯ  เพื่อผู้เรียนจะเตรียมตัวได้ถูกต้อง
                        -  การใช้สื่อ  ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วเพื่อดำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น  และต้องควบคุมการเสนอสื่อให้ถูกต้อง  ตัวอย่างเช่น  ในการฉายวีดิทัศน์  ผู้สอนต้องปรับภาพที่ออกทางเครื่องรับโทรทัศน์ให้ชัดเจน  ปรับเสียงอย่าให้ดังจนรบกวนห้องเรียนอื่นหรือค่อยเกินไปจนผู้เรียนที่นั่งอยู่หลังห้องไม่ได้ยิน  ดูว่ามีแสงตกลงบนพื้นจอหรือไม่  หากใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะต้องปรับระยะเครื่องฉายไม่ให้ภาพเบี้ยว  (keystone  effect)  ดังนี้เป็นต้น 
                -  การประเมินติดตามผล  หลังจากมีการเสนอสื่อแล้ว  ควรมีการประเมินและติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคำถาม  อภิปราย  หรือเขียนรายงาน  เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนรู้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่  เพื่อผู้สอนจะได้สามารถทราบจุดบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงการสอนของตนได้
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
     การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
                -  ขั้นนำสู่บทเรียน  เพื่อกระตุ้นให้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนสื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ  หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกจริง  อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิด  และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น  เช่น  ภาพ  บัตรคำ  หรือเสียง  เป็นต้น
-  ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะจะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ผู้สอนจึงต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อประสมก็ได้  ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน  การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน  เช่น  ของจริง  แผ่นโปร่งใส  กราฟ  วีดิทัศน์  แผ่นวีซีดี  หรือการทัศนศึกษานอกสถานที่  เป็นต้น 
ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียน              ได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฏีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือ        ฝึกปฏิบัติเอง  สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหา  เทปเสียง  สมุดแบบฝึกหัด  ชุดการเรียน  หรือบทเรียนซีเอไอ  เป็นต้น
-  ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นการเน้นย้ำเนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้           ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาน้อย  เช่น  แผนภูมิ  โปร่งใส  กราฟ  เป็นต้น
-  ขั้นประเมินผู้เรียน  เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด  และบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่  สื่อในขั้นประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้  อาจนำบัตรคำหรือสื่อที่ใช้ขั้นกิจกรรมการเรียนมาถามอีกครั้งหนึ่ง  และอาจเป็นการทดสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อหรือการกระทำของผู้เรียนเพื่อทดสอบดูว่าผู้เรียนสามารถมีทักษะจากการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
   การนำเสนอสื่อการเรียนการสอนนั้นต้องประกอบไปด้วยขั้นต่างๆดังนี้
1.             กลยุทธ์ในการนำเสนอสื่อ
2.             ความสามารถในการนำเสนอสื่อขงผู้สอน
3.             การใช้สื่อการสอนในระยะต่างๆ (ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นประเมินผล)
4.             การจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการใช้สื่อการสอน
5.             การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
โดยการวางแผนการใช้สื่อ ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้
1.             จะใช้สื่อเมื่อไหร่
2.             ใช้สื่อประเภทใด
3.             ว่างแผนใช้สื่ออย่างไร
              การบำรุงรักษาสื่อนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่มีการนำสื่อการสอนออกไปใช้ ย่อมมีโอกาสทำให้สื่อเกิดความเสียหาย ดังนั้น การบำรุงรักษาสื่อ จึงเป็นกระบวนการหนึ่งในการยืดอายุการใช้งานสื่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกเหนือจากการซ่อมบำรุงแล้ว การบำรุงรักษาสื่อยังหมายรวมไปถึงการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมออีกด้วย โดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
1.                                                     ก่อนนำสื่ออกไปใช้ ต้องตรวจสภาพของสื่อเสมอ ว่ามีการชำรุดตรงจุดใดหรือไม่ หากมี ให้ดำเนินการซ่อมแซมเพื่อมิให้สื่อเกิดความเสียหายมากขึ้นระหว่างใช้งาน
2.                                                     ระหว่างการใช้สื่อ ต้องใช้สื่อด้วยความระมัดระวัง อ่านวิธีการใช้สื่อให้เข้าใจก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสร้างความเสียหายกับตัวสื่อ
3.                                                     เมื่อใช้เสร็จให้ตรวจสอบสื่อทุกครั้งว่ามีจุดเสียหาย ต้องดำเนินการซ่อมแซมหรือไม่
4.                                                     ในการเก็บรักษาสื่อ ต้องเก็บรักษาสื่อในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท เช่น ไม่ควรเก็บสื่อแผนที่ ไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง และต้องมีการนำสื่ออกมาตรวจสอบสภาพเป็นระยะๆเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเก็บรักษา                          
 สื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากร

สื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้  5  รูปแบบ  โดยแบ่งได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อ  จุดมุ่งหมายทางการศึกษา            (by  design)  และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (by  utiliegation)  ได้แก่
       1.  คน  (peopleคน  ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น  หมายถึง  บุคคลที่อยู่ในระบบของโรงเรียน  ได้แก่  ครู  ผู้บริหาร  ผู้แนะนำการศึกษา  ผู้ช่วยสอน  หรือผู้ที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ส่วน  คน  ตามความหมายของการประยุกต์ใช้  ได้แก่คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป  คนเหล่านี้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งถึงแม้มิใช่นักศึกษาแต่สามารถจะช่วยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยาการเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ละด้าน  อาทิเช่น  ศิลปิน  นักการเมือง  นักธุรกิจ  ช่างซ่อมเครื่อง
2.  วัสดุ(materials)   ในการศึกษาโดยตรงเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนโดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง  เช่น  หนังสือ  สไลด์  แผนที่  แผ่นซีดี  หรือสื่อต่างๆที่เป็นทรัพยากรในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวเพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุในวัสดุส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง  เช่น  คอมพิวเตอร์  หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์สิ่งเหล่านี้ถูกมองไปในรูปแบบของความบันเทิงแต่สามารถให้ความรู้ในเวลาเดียวกัน
3.  อาคารสถานที่  (settings)  หมายถึง  ตัวตึก  ที่ว่าง  สิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีผลเกี่ยวกับทรัพยากรรูปแบบอื่นๆที่กล่าวมาแล้วและมีผลกับผู้เรียนด้วย  สถานที่สำคัญในการศึกษา  ได้แก่ตึกเรียนและสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยรวม  เช่นห้องสมุด  หอประชุม  ส่วนสถานที่ต่างๆ          ในชุมชนก็สามารถประยุกต์ให้เป็นทรัพยากรสื่อสารเรียนการสอน  ได้เช่น  โรงงาน  ตลาด  สถานที่ ทาง ประวัติศาสตร์เช่น  พิพิธภัณฑ์  เป็นต้น
4.  เครื่องมือและอุปกรณ์  (tools  and  equipment)  เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ  ส่วนมากมักเป็น  โสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ  ที่นำมา           ใช้ประกอบหรืออำนวยความสะอาดในการเรียนการสอน  เช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะ  คอมพิวเตอร์  เครื่องถ่ายเอกสาร  หรือแม้แต่ตะปู  ไขควง  เหล่านี้เป็นต้น
5.  กิจกรรม (activities)  โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนมักจัดขึ้นเพื่อร่วมกระทำทรัพยากรอื่นๆ  หรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน  เช่น  เกม  การสัมมนา  การจัดทัศนศึกษา  กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้น  โดยมีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะแต่ละวิชา  หรือวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน


                                                           ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการสอน

สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย
วัสดุ  อุปกรณ์  เทคนิควิธีการ

วัสดุ / อุปกรณ์ / วิธีการ

ข้อดี
ข้อจำกัด
สิ่งพิมพ์ต่างๆเช่นหนังสือ
 ตำราเรียน  คู่มือ  วารสาร  ฯลฯ

-    เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
-   สามารถอ่านได้ตามอัตราความสามารถแต่ละบุคคล
-   เหมาะสำหรับการอ้างอิง
-   สะดวกในการพกพา
-   ทำสำเนาจำนวนมากได้ง่าย
-   ถ้าจะให้ได้สิ่งพิมพ์ที่คุณภาพดีต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง
-   บางครั้งต้องพิมพ์ใหม่เพื่อปรับปรุงข้อมูลที่ล้าสมัย
-   ผู้ที่ไม่รู้หนังสือไม่สามารถอ่านหรือทบทวนให้เข้าใจได้
-   ไม่สะดวกในการแก้ไขปรับปรุง
ของจริง  ของตัวอย่าง
-    แสดงภาพได้ตามความเป็นจริง
-   สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
-   สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
-   บางครั้งอาจจะลำบากในการจัดหา
-   ของบางสิ่งอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดงได้
-   บางครั้งของนั้นอาจมีราคาสูงเกินไป
-   ปกติเหมาะสำหรับ
-   การเสนอต่อกลุ่มย่อย
-   เก็บรักษาลำบาก
ของจำลอง  หุ่นจำลอง  ขนาดเท่า  ย่อส่วน  หรือ  ขยายของจริง
-   อยู่ในลักษณะ  3  มิติ
-   สามารถจับต้องพิจารณารายละเอียดได้
-   เหมาะในการนำเสนอที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (เช่น  ลักษณะของอวัยวะภายในร่างกาย)
-   สามารถใช้แสดงหน้าที่และลักษณะส่วนประกอบ
-   ช่วยในการเรียนรู้และการปฏิบัติทักษะชนิดต่างๆ
-   หุ่นบางอย่างสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่าย
-   ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิตส่วนมากจะราคาแพง
-   ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย
-   ถ้าทำได้ไม่เหมือนของจริงทุกประการ บางครั้งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
วัสดุกราฟิก  เช่น  แผนภูมิ  แผนภาพ    กราฟ  การ์ตูน  ภาพถ่าย  ภาพวาด  ฯลฯ
-    ช่วยในการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา
-   ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
-   สามารถจัดหาได้ง่ายจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ
-   ผลิตได้ง่ายและสามารถผลิตได้จำนวนมาก
-   เก็บรักษาได้ง่ายด้วยวิธีผนึกภาพ
-   เหมาะสำหรับการเรียนในกลุ่มเล็ก
-   งานกราฟิกที่มีคุณภาพดี  จำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิคที่มีความชำนาญในการผลิต
-   การใช้ภาพบางประเภท  เช่นภาพตัดส่วน  (sectional  drawings)  หรือภาพการ์ตูนอาจไม่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจดีขึ้นเพราะไม่สามารถสัมพันธ์กับของจริงได้
กระดานชอล์ก
กระดานขาว








-   ต้นทุนในการผลิตต่ำ
-   สามารถเขียนงานกราฟิกได้หลายชนิด
-   ช่วยในการสร้างความเข้าใจตามลำดับเรื่องราวเนื้อหา
-   ผู้สอนต้องหันหลังให้กลุ่มผู้เรียนเมื่อเขียนกระดานทำให้ไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี
-   สามารถอ่านข้อความบนกระดานได้ไม่ไกลมากนัก  ทำให้กลุ่มผู้เรียนมีจำนวนจำกัด
-   ภาพ  หัวข้อ  หรือประเด็น  คำบรรยายต้องถูกลบไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก
-   ผู้สอนต้องมีความสามารถในการเขียนกระดานพอสมควร
กระดานผ้าสำลีและกระดานแม่เหล็ก
-   สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
-   วัสดุในการผลิตหาง่ายและสามารถผลิตได้เอง
-   เหมาะสำหรับแสดงความเกี่ยวกันของลำดับขั้นตอนเนื้อหา
-  ช่วยดึงดูดความสนใจ
-   สามารถให้กลุ่มผู้เรียนร่วมใช้เพื่อสร้างความสนใจ
-  ไม่เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
การจัดทัศนศึกษานอกสถานที่

-    ผู้เรียนสามารถสังเกตการณ์และมีส่วนร่วมได้ด้วยตนเอง
-   เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมทำงานเป็นกลุ่มและสร้างสรรค์ความรับผิดชอบร่วมกัน
-   สามารถจูงใจเป็นรายบุคคลได้ดี
-   ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
-   จัดเฉพาะผู้เรียนกลุ่มย่อย
-   ต้องเตรียมการและวางแผนโดยละเอียดรอบคอบ
เกม
-   ดึงดูดความสนใจให้สนุกในกิจกรรมการเรียน
-   มีความแปลกใหม่แตกต่างไปจากการเรียนปกติ
-   สร้างบรรยากาศให้รู้สึกพอใจและผ่อนคลายแก่ผู้เรียน
-   ดึงความสนใจในงานที่ต้องทำซ้ำๆกันได้ดีกว่าการเรียนด้วยการฝึกฝนธรรมดา
-   กิจกรรมที่มีการแข่งขันจะใช้ไม่ได้ผลกับผู้เรียนที่ไม่มีความชำนาญหรือไม่ชอบการแข่งขัน
-   เกิดความไขว้เขวได้ง่าย  จึงต้องอธิบายกฎเกณฑ์และวิธีการเล่นอย่างถูกต้อง
-   ต้องระวังในการเลือกเกมที่มีการออกแบบให้ตรงกับทักษะในการเรียน
การจำลอง(simulation)
เช่น  บทบาทสมมุติเครื่องจำลอง
-   มีการฝึกปฏิบัติทักษะในโลกของจริงภายใต้สภาวะที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง
-   สามารถฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายได้โดยไม่เสี่ยงอันตรายได้โดยไม่เสี่ยงกับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
-   การจำลองมีแต่เฉพาะลักษณะสำคัญของสถานการณ์โดยละทิ้งรายละเอียดต่างๆเพื่อใช้ได้อย่างสะดวกไม่ยุ่งยากแก่ความเข้าใจ
-   ผู้เรียนต้องใช้เวลามากในสถานการณ์ของปัญหาและทดลองด้วยวิธีการต่างๆ
-   การให้เรียนในสภาวะจำลองที่ง่ายกว่าความเป็นจริงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ถ้าต้องเผชิญกับสถานการณ์ในชีวิตจริงที่ไม่ง่ายดายเหมือนที่เคยปฏิบัติมา
การจัดนิทรรศการ
-   เป็นการให้การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีครูบรรยาย
-   เร้าให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ ในเรื่องราวที่เสนอ
-   ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดสื่อประกอบเนื้อหาบทเรียนที่จะนำเสนอ
-   เสริมสร้างความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลและสร้างความสามัคคีในกลุ่ม
-   สถานที่จัดอาจไม่เหมาะสมทำให้ไม่มีผู้ชมมากเท่าที่ควร
-   อาจมีงบประมาณไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถจัดหาสื่อได้ตามต้องการ
-   หากขาดการประชาสัมพันธ์ที่จูงใจจะทำให้มีผู้ชมน้อยส่งผลให้การจัดไม่ประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้


การสาธิต
-   การนำเสนอการปฏิบัติและกรรมวิธีให้เห็นอย่างเป็นขั้นตอนได้ชัดเจน
-  ใช้สอนทักษะได้เป็นอย่างดี
-   สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีการรับรู้ร่วมกัน
-   กระตุ้นให้มีการซักถามและปฏิบัติตามขั้นตอนได้
-   ผู้สอนต้องมีทักษะความชำนาญในวิธีการสาธิตเป็นอย่างดีจึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น
-   อาจเสียค่าใช้จ่ายสูง
-   อาจไม่สามารถหาสถานที่ที่เหมาะสมในการสาธิตได้
การสอนแบบโปรแกรม
-   ผู้เรียนสามารถเรียนตามความสามารถของตน
-   ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉงในการเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที
-   ให้รูปแบบการเรียนรู้ที่เชื่อถือได้
-   ให้ประสิทธิผลสูงกว่าการสอนแบบธรรมดา
-   ต้องการออกแบบการเรียนที่ดีโดยผู้เชี่ยวชาญจึงจะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพสูงสุดได้
-    การเรียนในบทเรียนเดียวซ้ำๆกันอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนได้
-   เป็นลักษณะการสอนรายบุคคลจึงอาจทำให้ผู้เรียนขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

สื่อการเรียนการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย
วัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพนิ่ง

วัสดุ
อุปกรณ์
ข้อดี
ข้อจำกัด
แผ่นโปร่งใสและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
-  สามารถใช้ได้ในที่มีแสงสว่าง
-  เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
-  ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้
-  ผู้สอนสามารถเตรียมแผ่นโปร่งใสไว้ใช้ล่วงหน้า  หรือสามารถเขียนลงไปพร้อมทำการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
-  แผ่นโปร่งใสบางประเภทสามารถแสดงให้การเคลื่อนไหวได้บ้าง
-   ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสมีลักษณะพิเศษจะต้องลงทุนสูง
-   ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์
สไลด์และเครื่องฉายสไลด์
-  เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
-  ผลิตง่ายและทำสำเนาได้ง่ายเช่นกัน
-  สามารถเปลี่ยนรูปในการสอนได้ตามความต้องการ
-  สามารถปรับเปลี่ยนรูปได้ตามความต้องการของเนื้อเรื่อง
-  ใช้สะดวก  เก็บรักษาง่าย
-  ใช้ประกอบกับเครื่องบันทึกเสียงในการผสมสัญญาณเสียงและภาพ
-  สามารถใช้ได้กับเครื่องฉายที่ใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่
ต้องฉายในห้องมืดพอสมควรยกเว้นจะมีจอ  Daylight  Screen
-   การถ่ายทำชุดสไลด์ที่ดีต้องมีการวางแผนทำบทสคริปต์  การถ่ายทำและการจัดภาพเป็นชุด
วัสดุทึบแสงและเครื่องฉายภาพทึบแสง
-  สามารถขยายภาพถ่าย  ภาพเขียนหรือวัสดุทึบแสงให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้
-  ใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเสนอภาพเคลื่อนไหวของวัตถุและการสาธิตภายในห้องเรียนได้
-  ให้ภาพที่ชัดเจน  สามารถขยายภาพและข้อความจากสิ่งพิมพ์ให้อ่านได้อย่างทั่วถึง
-  สามารถใช้กล้องตัวรองที่ฐานเครื่องเป็นกล้องวีดิทัศน์ที่ได้
-   ต้องใช้เครื่องในห้องที่มืดสนิทจึงจะเห็นภาพขยายได้ชัดเจน
-   เครื่องฉายภาพทึบแสงรุ่นเก่ามีขนาดใหญ่ทำให้ขนย้ายลำบาก
-  ต้องมีความระวังในการติดตั้งและการเก็บเครื่องอย่างดี
เครื่องวีดีโอโปรเจกเตอร์ (video  projector) หรือเครื่องแอลซีดี (crystal  display)
-   ใช้กับอุปกรณ์ได้หลายประเภท
-   สามารถเสนอภาพขนาดใหญ่จากอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างทั่วถึง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
-   ถ้าต้องการเสนอภาพคมชัดมากๆจะต้องใช้เครื่องที่มีราคาสูง
-   ต้องมีความรู้ในการต่อสายเข้ากับเครื่องให้ถูกต้อง
-   ต้องระวังในการใช้งานและการปิด/เปิดเพื่อถนอมหลอดฉาย

                                                    สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย
วัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว

วัสดุ
อุปกรณ์
ข้อดี
ข้อจำกัด
โทรทัศน์วงจรปิด
-  เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
-  ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการสอนที่ผู้เรียน/ผู้ชมไม่สามารถรวมกันอยู่ในบริเวณที่เรียน/ที่ชมพร้อมกันได้
-  สามรถใช้ร่วมกับวีดีทัศน์ในการส่งภาพได้
-   รับภาพได้เฉพาะในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น
-   ถ้าต้องการถ่ายทอดภาพหลายจุดต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจอภาพในบริเวณต่างๆ
โทรทัศน์วงจรเปิด
-  สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหรือผู้ชมไม่จำกัดจำนวน  และสามารถแพร่สัญญาณไปได้ในระยะไกลๆ
-   ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
-   เหมาะสำหรับการใช้จูงใจ  สร้างทัศนคติและเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิดหรือเสริมสร้างการอภิปรายร่วมกัน
-  ช่วยลดภาระของผู้สอนคือ  แทนที่จะต้องบรรยายหลายครั้งหรือหลายแห่งในหัวข้อเดียวกันต่อผู้เรียนหลายกลุ่ม  ก็ใช้การแพร่สัญญาณไปยังที่ต่างๆได้ในเวลาเดียวกัน
-  การจัดรายการที่ดีต้องใช้ต้นทุนสูงมากและต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิตรายการ
-   เป็นสื่อสารทางเดียว  ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถถามข้อสงสัยได้ในทันที  และผู้สอนไม่สามารถทราบการตอบสนองของผู้เรียนได้
-  รายการที่เสนออาจไม่ตรงกับตารางสอนหรือบทเรียน
วิดีทัศน์
-  สามารถใช้ได้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
-  สามารถซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจหรือทบทวน
-  แสดงการเคลื่อนไหวของภาพประกอบเสียงที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงของจริงมาก
-  ต้นทุนอุปกรณ์และการผลิตที่มีคุณภาพดีมีราคาสูง  และต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิต/จัดรายการ
-  ตัวอักษรที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์มีขนาดเล็กอ่านยาก
-  แถบเทปเสื่อมสภาพได้ง่าย
แผ่นดีวีดี (DVD: digital versatile disc)













-  แผ่นมีความจุตั้งแต่4-17จิกะไบต์  ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ได้ทั้งเรื่องโดยไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนแผ่นใหม่ขณะเล่น
-  คุณภาพของภาพบนแผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมาก  โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดีทัศน์
-  ให้เสียงดอลบีเซอร์ราวด์ช่วยให้การชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
-  สามารถเลือกชมตอนใดของภาพยนตร์โดยไม่ต้องเรียงตามเนื้อเรื่อง
-  เลือกเสียงได้หลายภาษา
-  ไม่ยึดหรือเสียหายง่ายเหมือนแถบเทป
-  สามารถทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น
-  เครื่องเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดีแผ่นวีซีดี  และแผ่นดีวีดี


-   แผ่นดีวีดีคุณภาพดียังมีราคาสูงพอควร
-   การบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นต้องใช้อุปกรณ์ราคาสูงพอควร
-   ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึก  ภาพยนตร์ลงแผ่นได้เอง













แผ่นวีซีดี  (vcd:video-compact disc)
-  คุณภาพของภาพบนแผ่นวีซีดีให้ความคมชัดมากกว่าแถบวีดีทัศน์
-  ไม่มีการยึดเหมือนแถบวีดีทัศน์
-  เครื่องเล่นแผ่นวีซีดีสามารถเล่นแผ่นซีดีได้ด้วย
-  ทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น
-  ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นได้เองเหมือนการใช้แถบวีดีทัศน์
-   แผ่นมาตรฐานสูงไม่สามารถใช้เล่นเครื่องเล่นมาตรฐานธรรมดาได้

                                             สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง

วัสดุ / อุปกรณ์ 

ข้อดี
ข้อจำกัด
วิทยุ
-   สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่  หรือรายบุคคล
-   ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกลๆ
-   ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยายในการเดินทางไปสอนในที่ต่างๆ
-   สามารถให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่สามารถอ่านเขียนจากใช้ทักษะในการฟังเพียงอย่างเดียว
-   ดึงดูดความสนใจได้ดี
-   เครื่องรับวิทยุราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
-   สามารถใช้กับสื่ออื่น  เช่น  สิ่งพิมพ์ 

-   ต้องใช้ห้องที่ทำขึ้นเฉพาะเพื่อการกระจายเสียง
-   ผู้ฟังหรือเรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการ  เนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้
-   เป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ผู้บรรยายไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง
เทปบันทึกเสียง
-   ใช้ได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน
-   เหมาะสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือกับกลุ่มย่อย
-   การเปิด/ปิด/เดินหน้า  ย้อนกลับสามารถทำได้สะดวก
-   ต้นทุนการผลิตต่ำ
-   อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
-   ใช้ได้หลายสภาวการณ์  เช่น  ใช้ประกอบสไลด์  ใช้บันทึกเสียงที่ไม่สามารถฟังได้ทั่วถึง  เช่น  ฟังการเต้นของหัวใจ  เป็นต้น
-   การบันทึกเสียงที่คุณภาพดีจำเป็นต้องใช้ห้องและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพสูง
-   ต้องมีความชำนาญพอสมควรในการตัดต่อเทป
-   ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา
แผ่นซีดี  (CD:compact disc)



-   บันทึกเสียงประเภทต่างๆในระบบดิจิทัลที่ให้ความคมชัดมาก
-  เรียกค้นข้อมูลเสียงได้รวดเร็ว
-  มีความทนทานใช้งานได้นาน
-  ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา
-   ไม่สามารถบันทึกได้ถ้าใช้แผ่น  CD-R
-   เครื่องเล่นมีราคาสูงกว่าเครื่องเล่นเทปเสียง
                               
                       
                                           สื่อประสมเชิงโต้ตอบ  (Interactive  Multimedia)

วัสดุ / อุปกรณ์
ข้อดี
ข้อจำกัด
คอมพิวเตอร์
-   ใช้งานได้หลายประเภท  เช่นคำนวณ  จัดเก็บฐานข้อมูล  งานกราฟิก  จัดหน้าสิ่งพิมพ์  ฯลฯ
-   ใช้แก้ปัญหาต่างๆที่ซับซ้อน
-   เสนอข้อมูลได้หลายประเภท
-   มีการโต้ตอบกับผู้เรียน
-   สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจำอื่น  เช่น  แผ่นซีดี
-   ใช้ร่วมกับโมเด็มหรือแบบไร้สายเพื่อใช้บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่นๆได้ทั่วโลก
-   ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารได้  เช่น  การรับส่งเมล  การประชุมทางไกล ฯลฯ
-   เครื่องกระเป๋าหิ้วและแบบมือถือมีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้
-   เครื่องที่มีสมรรถนะการใช้งานสูงจะมีราคาสูงพอสมควร
-   ต้องมีการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
-   ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ  จึงจะใช้งานได้
-   มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์  เช่น  ความเร็วต่างๆจนทำให้เครื่องที่มีอยู่ล้าสมัยได้เร็ว







บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (ซีเอไอ) (computer-assisted  instruction : CAI)




-   ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับบทเรียนได้
-   สามารถให้ผลป้อนกลับได้ในทันที
-   มีรูปแบบบทเรียนให้เลือกใช้มากมาย  เช่น  การสอน  ทบทวน  เกม         การจำลอง
-   เสนอบทเรียนได้ทั้งลักษณะตัวอักษรภาพ  และเสียง
-   ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา
    บทเรียนและทำกิจกรรมได้ตามความสามารถของตนในลักษณะการศึกษารายบุคคล

-   ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมบทเรียน
-   โปรแกรมซอฟต์แวร์บางประเภทมีราคาสูงพอควร

           
แผ่นซีดี  ซีดีอาร์  และ  ซีดีอาร์ดับเบิลยู   (CR-Rom,CD-R,CD-RW)








-   สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง  700     เมกะไบต์
-   บันทึกข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร  ภาพนิ่ง  กราฟิก  แอนิเมชั่น  เคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์  และเสียง
-   ไม่มีการเผลอลบข้อมูลที่บันทึกไว้  แล้ว
-   ค้นข้อมูลได้เร็วและถูกต้อง
-   มีอายุการใช้งานนานและยากแก่การบุบสลาย
-  ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา
-   แผ่นซีดีรอมและแผ่นซีดีอาร์จะไม่สามารถบันทึกทับข้อมูลเดิมได้
-   ต้องใช้เล่นร่วมกับคอมพิวเตอร์















รูปแบบและวิธีการการใช้เทคโนโลยี
ในการเรียนการสอน

รูปแบบ/วิธีการ
ข้อดี
ข้อจำกัด
สื่อหลายมิติ(hypermedia)
-   สามารถอ่านเนื้อหาในตอนใดที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงตามลำดับเชื่อมโยงข้อมูลได้สะดวก
-   เนื้อหาบทเรียนมีทั้งภาพกราฟิก       ภาพวีดีทัศน์  เสียงพูด  เสียงดนตรี
-   ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที


-   ต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงในการผลิตบทเรียน
-   ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบทเรียน
-   ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ 
     คุณภาพสูง
-   การผลิตบทเรียนที่ดีต้องใช้อุปกรณ์ร่วมหลายอย่าง   เช่น  เครื่องเสียง  กล้องดิจิทัล  
อินเทอร์เน็ต (Internet)
-   ค้นคว้าข้อมูลได้ทั่วโลก
-   ติดตามข่าวสารความรู้ได้อย่างรวดเร็ว
-   สนทนากับผู้ที่อยู่ห่างไกล
-   รับส่งไปรษณีย์  รูปแบบข้อความ  ภาพ  และเสียงได้
-   ใช้ในการเรียนการสอนได้มากมายหลายรูปแบบ  เช่นการสอนบนเว็บทางไกล
-   ข้อมูลที่ได้อาจไม่ถูกต้องเพราะไม่มีใครรับรอง
-   ต้องมีการศึกษาใช้งานเพื่อสืบค้นข้อมูล
-   ประชาชนไม่มีความรู้ด้านไอที
เวิลด์ไวด์เว็บ
(World  Wide  Web)
-   ผู้เรียนใช้ได้ทุกคน
-   เป็นเทคโนโลยีราคาถูก
-   ผู้เรียนด้วยเว็บสามารถเรียน  ณ  ที่ใดที่หนึ่งได้สะดวก
-   สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนได้
-   การสื่อสารยังใช้แบนด์วิดท์แคบทำให้สื่อสารการสอนที่ส่งบนเว็บจำกัดอยู่เพียงข้อความและภาพนิ่งเป็นส่วนมาก
-   ไม่เหมาะกับวัฒนธรรมบางประเทศที่เคร่งต่อประเพณีเก่า
-   ผู้เรียนอาจได้ดูเว็บไม่ปกติ


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์      (e-mail)  
-  ช่วยในเรื่องของเวลา
-  เปิดโอกาสให้สอบถามเป็นการส่วนตัว
-  สามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้
-  ไม่สามารถแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติได้
-   อาจเกิดความผิดพลาดในเวลาที่ไม่ต่อเนื่อง
การสอนบนเว็บWBI : (web-based  instruction)
-   ขยายโอกาสให้ผู้เรียนรอบโลก
-   เรียนด้วยการสื่อสารหลายแบบ
-   มีการเรียนทั้งแบบประสานเวลาและแบบไม่ประสานเวลา
-  ผู้สอนและเรียนอาจไม่พบหน้ากันเลย  อาจทำให้ผู้เรียนบางคนอึดอัดและไม่สะดวกในการเรียน
-   ผู้สอนต้องใช้เวลาเตรียมการสอนมากกว่าปกติ
-   ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมการเรียนของตนเองจึงจะประสบผลสำเร็จในการเรียนได้
การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
-   ถึงแม้จะมีการลงทุนค่อนข้างสูงในเบื้องต้นในเรื่องของห้องสตูดิโอและอุปกรณ์รับสัญญาณแต่สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นสิ่งเปลืองเหมือนวัสดุอื่น
-    เป็นการลงทุนอย่างคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความสามารถในการรับบทเรียนและการสอนเพื่อผู้เรียนกลุ่มใหญ่
-   การบรรยายบทเรียนเป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับผู้เรียนทุกแห่ง
-   สามารถใช้รูปแบบการสื่อสารสองทางเมื่อใช้ร่วมกับโทรศัพท์
-  ต้องใช้ทุนสูงในการเริ่มต้น  รวมถึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการดำเนินในการดำเนินงาน
-   หากเป็นการรับสัญญาณผ่านโทรทัศน์จะไม่มีลักษณะการยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาและสถานที่เรียนเหมือนการเรียนบนเว็บ
-   ความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน  การรักษาความปลอดภัย  ต้องเพิ่มงบประมาณมากขึ้นกว่าปกติ




การประชุมทางไกลด้วยวีดีทัศน์
-   ประหยัดเวลาในการเดินทางของผู้สอน
-   ผู้สอนไม่จำเป็นต้องปรับวิธีการสอนมากนักจากวิธีการเรียนในชั้นเรียน
-   สามารถส่งภาพและเสียงไปพร้อมกันได้
-  หากเป็นการรับภาพทางโทรทัศน์ต้องใช้ต้นทุนสูง  ต้องปรับปรุงห้องเรียนเช่น    มีแสงเพียงพอ  ระบบเสียงดี
-   หากรับภาพทางอินเทอร์เน็ตต้องใช้กล้องที่มีคุณภาพสูงเพื่อส่งภาพที่มีคุณภาพซึ่งย่อมมีราคาสูงตามไปด้วย
เทคโนโลยีไร้สาย



















-  ระบบเคลื่อนที่ทำให้คล่องตัวในการใช้งาน  ผู้สอนเป็นอิสระในการเดินดูผู้เรียนทั่วห้อง  และผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ทุกสถานที่ไม่จำเป็นต้องนั่งเฉพาะในห้องเรียน
-   เกิดความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนทั้งรูปแบบและวิธีการ
-   เชื่อมต่อเว็บได้ทันทีเพื่อการสื่อสารและความร่วมมือในการทำงาน
-   เพิ่มความสามารถ  เพิ่มความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าแบบเดิม
-   ใช้การสื่อสารด้วยเสียงบนอินเทอร์เน็ตได้ในห้องเรียนที่ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้
-  ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้ไม่ต้องเสียค่าเดินสายเคเบิลในอาคารและบริเวณโดยรอบ

-   อุปกรณ์ไร้สายจะมีราคาสูงกว่า  อุปกรณ์ใช้สาย
-   ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในเรื่องของการ์ดเพื่อการสื่อสารหากใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่มีเสาอากาศไร้สาย












ประโยชน์ของสื่อการสอน

1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง  ๆ ได้ดังนี้
                   · ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
                   · ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
                   · ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
                   · ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
                   · ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
                   · นำอดีตมาศึกษาได้
                  · นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น
สรุป
         
           สื่อนับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ  ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกันและคุณค่าของสื่อการสอนนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยในการจัดสภาพการเรียนรู้ เอื้อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยช่วยทำให้สิ่งที่ยากต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง หรือสามารถเรียนรู้ได้ในกลุ่มขนาดใหญ่ ช่วยลดช่องว่างทางการเรียนรู้ ทั้งด้านระยะเวลา ระยะทาง งบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ช่วยขจัดหรือลดอุปสรรคทางการเรียนรู้ลงนั่นเองส่วนการแบ่งประเภทของสื่อการสอนนั้น ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์ใด ก็ยังคงอ้างอิงอยู่กับลักษณะของการรับรู้ และการเรียนรู้ เป็นหลัก ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้มิติ หรือ ลักษณะการนำไปใช้ หรือแม้แต่รูปร่างของสื่อ สิ่งที่สำคัญของสื่อการสอนนั้น ไม่ใช่ประเภทของสื่อ แต่เป็นการออกแบบเพื่อการส่งสาร โดยต้องอาศัยการเลือกใช้ว่าจะออกแบบ และเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือใด ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราคงไม่สามารถใช้สื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสถานที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และวัตถุประสงค์ของการสอน จึงมีความสำคัญสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้  นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ  เพื่อประกอบการพิจารณาอีกมากมาย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น